วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การสตาร์ทมอเตอร์ 3 เฟส แบบสตาร์-เดลต้า



การสตาร์ทมอเตอร์ 3 เฟส แบบสตาร์-เดลต้า

การสตาร์ทมอเตอร์ 3 เฟสที่มีขนาดใหญ่เกินกว่า 7.5 กิโลวัตต์นั้นไม่สามารถใช้วิธีการสตาร์ตรงได้
(Direc Start) ได้ เนื่องจากกระแสสตาร์ทสูงมาก(ปกติค่ากระแสสตาร์ทสูงประมาณ 5 - 7 เท่า
ของค่ากระแสตามปกติของค่ากระแสตามปกติ ของค่าพิกัดมอเตอร์)จึงต้องการอาศัยเทคนิค
การสตาร์ทมอเตอร์ ที่สามารถลดกระแสขณะสตาร์ทมอเตอร์ได้มิฉะนั้นแล้วการสตาร์ทมอเตอร์ขนาดใหญ่
จะทำให้เกิดผลเสียแก่ ระบบไฟฟ้าหลายประการเช่น
        1.ทำให้เกิดไฟแสงสว่างวูบหรือกระพริบ
        2.ทำให้อุปกรณ์ป้องกันแรงดันไฟฟ้าตกทำงาน
        3.อาจเกิดโอเวอร์โหลดแก่ระบบจ่ายไฟเข้าโรงงาน เช่นหม้อแปลงไฟฟ้า
        4.อาจทำให้ฟิวส์แรงสูงที่ระบบจ่ายไฟฟ้าขาด
        5.กระทบต่อการทำงานของมอเตอร์ตัวอื่นๆในโรงานที่ทำงานในสภาวะโอเวอร์โหลด
อาจดับหรือหยุดทำงานได้เพราะไฟตก
ดังนั้นมอเตอร์ที่มีขนาดสูงกว่า 5 กิโลวัตต์ต้องใช้เทคนิคการสตาร์ทมอเตอร์แบบลดกระแสซึ่งมีอยู่ 3 วิธี
       1.การสตาร์ทแบบสตาร์-เดลต้า
       2.การสตาร์ทแบบลดกระแสแบบตัวต้านทาน
       3.การสตาร์ทโดยใช้หม้อแปลงลดแรงดัน
ในบทนี้จะกล่าวถึงเฉพาะการสตาร์ทแบบสตาร์-เดลต้าเท่านั้น
      การสตาร์-เดลต้าหมายถึง ขณะสตาร์ทมอเตอร์เป็นแบบสตาร์และเมื่อมอเตอ์ืหมุนไปด้วยความเร็ว 75%ของความเร็วพิกัด มอเตอร์จะต้องหมุนแบบเดลต้า

 การสตาร์ทแบบสตาร์-เดลต้า สามารถทำได้ 2 วิธี
                1.ใช้สตาร์-เดลต้าสวิตช์
                2. ใช้คอนแทคเตอร์


วงจรกำลัง



     วงจรกำลังของการสตาร์ทมอเตอร์แบบสตาร์- เดลต้านั้นการสตาร์ทจะต้องเรียงกัน ไปจากสตาร์ไปเดลต้าและคอนแทคเตอร์สตาร์กับคอนแทคเตอร์เดลต้าจ ะต้องมี Interlock ซึ่งกนและกัน การควบคุมมี 2 อย่างคือ เปลี่ยนจากสตาร์ไปเดลต้าโดยการกด Pushbutton กับเปลี่ยนโดยอัตโนมัติด้วยการใช้รีเลย์ตั้งเวลาการควบคุมแบบอัตโนมัติมี 2 วิธี
1. ต่อจุดสตาร์ด้วย K2 ก่อนจ่ายไฟเข้า K1
2. จ่ายไฟด้วย K1 ก่อนต่อจุดสสตาร์ด้วย K2

วงจรควบคุม


     
      วงจรควบคุมสตาร์ทมอเตอร์สตาร์-เดลต้าแบบ
อัตโนมัติโดยใช้รีเลย์ตั้ง

ลำลับขั้นตอนการทำงาน
     1. กด S2ทำให้คอนแทคK2ทำงานต่อแบบ
สตาร์และรีเลย์ตั้งเวลาK4T ทำงานคอนแทค
ปิด ของK2ในแถวที่ 4ตัดวงจรK3 และคอนแทค
ปกติปิดในแถวที่ 2 ต่อวงจรให้เมนคอนแทค K1
     2.หลังจากที่K1ทำงานและปล่อยS2 ไปแล้ว
หน้าสัมปกติเปิด(N.O.)ของK1ในแถวที่ 3ต่อวงจร
ให้คอนแทคเตอร์ K2และตัวตั้งเวลา K4Tจะทำงาน
ตลอดเวลาขณะนี้มอเตอร์หมุนแบบสตาร์(Star)
     3. รีเลย์ตั้งเวลาK4Tทำงานหลังจากเวลาที่ตั้งไว้
คอนแทคเตอร์K2จะถูกตัดออกจากวงจรด้วย
หน้าสัมผัสปกติปิด(N.C.)ของ รีเลย์ตั้งเวลาK4T
ในแถวที่1และหน้าสัมผัสปกติปิด(N.C.)ของK2
ในแถวที่4 กลับสู่สภาวะเดิมต่อวงจรให้กัน
คอนแทคเตอร์K3ทำงาน และหน้าสัมผัสปกติปิด(N.C.)
ของ K3 ในแถวที่ 1 จะตัดคอนแทคเตอร์ K2
และรีเลย์ตั้งเวลาK4T ออกจากวงจร จะคงเหลือคอนแทคเตอร์K1และK3
ทำงานร่วมกันมอเตอร์หมุนแบบ เดลต้า(Delta)
       4.เมื่อต้องการหยุดการทำงานของมอเตอร์

ให้กดสวิตช์ S1(Stop)

หมายเหตุ

    1. ในขณะที่มอเตอร์สตาร์ทแบบสตาร์คอนแทคเตอร์ K1 กับK2 จะทำงาน
    2. เมื่อรีเลย์ตั้งเวลาได้เวลาที่ตั้งไว้มอเตอร์จะรันแบบเดลตต้าคอนแทคเตอร์K1กับ K3 ทำงาน
    3. คอนแทคเตอร์ K1กับ K2 จะทำงานพร้อมกันไม่ได้เพราะจะทำให้เกิดการลัดวงจร

7 ความคิดเห็น:

  1. เป็นบล็อกที่มีเนื้อหาสาระดีครับผม

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ2 กันยายน 2554 เวลา 09:35

    เป็นเนื้อหาที่ให้ความรู้มากคับ

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ2 กันยายน 2554 เวลา 09:47

    คิดได้ยังไงอ่ะ

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ2 กันยายน 2554 เวลา 09:48

    ทำไมไม่เอาการออกแบบระบบมาลงด้วยคับ

    ตอบลบ
  5. ไม่ระบุชื่อ2 กันยายน 2554 เวลา 09:48

    แจ่มมากๆคับ

    ตอบลบ
  6. ไม่ระบุชื่อ17 กันยายน 2554 เวลา 01:26

    ไม่ใช่ใช้กับมอเตอร์ที่มีขนาด 10 แรง(7.5 KW)ขึ้นไปหรือครับ

    ตอบลบ
  7. ไม่ระบุชื่อ17 กันยายน 2554 เวลา 02:18

    ขอบคุณครับสำหรับคำติชม
    ยังไงก็ขอน้อมรับทุกความคิดเห็นครับ
    แชร์ประสบการณ์หรือความรู้กันได้นะครับ

    ตอบลบ