วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ภัยธรรมชาติ

สึนามิ


      ขอร่วมไว้อาลัยแด่ผู้ประสบภัยทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก ด้วยเพลง น้ำตาอันดามันครับผม




นามิ เป็นภาษาญี่ปุ่นแปลว่า Harbour Wave คำแรก สึ แปลว่า harbour คำที่สอง นามิ แปลว่า คลื่น ปัจจุบันใช้เป็นคำเรียก กลุ่มคลื่นที่มีความยาวคลื่นมากๆขนาดหลายร้อยไมล์ นับจากยอดคลื่นที่ไล่ตามกันไป เกิดขึ้นจากการที่น้ำทะเลในปริมาตรเป็นจำนวนมากมายมหาศาล ถูกผลักดันให้เคลื่อนที่ในแนวดิ่ง ด้วยเหตุมาจากการเคลื่อนไหวของเปลือกโลกส่วนที่อยู่ใต้ทะเลลึก บางครั้งก็เรียกว่า seismic wave เพราะส่วนใหญ่เกิดจากการเคลื่อนไหวดังกล่าว เรามักจะสับสนกับคำว่า สึนามิ กับ tidal wave ซึ่งเกิดจากน้ำขึ้นน้ำลง แต่ สึนามิ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องอะไรกับการขึ้นลงของน้ำเลย สึนามิ ส่วนใหญ่ เกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกใต้ทะเลอย่างฉับพลัน อาจจะเป็นการเกิดแผ่นดินถล่มยุบตัวลง หรือเปลือกโลกถูกดันขึ้นหรือยุบตัวลง ทำให้มีน้ำทะเลปริมาตรมหาศาลถูกดันขึ้นหรือทรุดตัวลงอย่างฉับพลัน พลังงานจำนวนมหาศาลก็ถ่ายเทไปให้เกิดการเคลื่อนตัวของน้ำทะเลเป็น คลื่นสึนามิ ที่เหนือทะเลลึก จะดูไม่ต่างไปจากคลื่นทั่วๆไปเลย จึงไม่สามารถสังเกตได้ด้วยวิธีปกติ แม้แต่คนบนเรือเหนือทะเลลึกที่ คลื่นสึนามิ เคลื่อนผ่านใต้ท้องเรือไป ก็จะไม่รู้สึกอะไร เพราะเหนือทะเลลึก คลื่นนี้ สูงจากระดับน้ำทะเลปกติเพียงไม่กี่ฟุตเท่านั้น จึงไม่สามารถแม้แต่จะบอกได้ด้วยภาพถ่ายจากเครื่องบิน หรือยานอวกาศ

นอกจากนี้แล้ว สึนามิ ยังเกิดได้จากการเกิดแผ่นดินถล่มใต้ทะเล หรือใกล้ฝั่งที่ทำให้มวลของดินและหิน ไปเคลื่อนย้ายแทนที่มวลน้ำทะเล หรือภูเขาไฟระเบิดใกล้ทะเล ส่งผลให้เกิดการโยนสาดดินหินลงน้ำ จนเกิดเป็นคลื่น สึนามิ ได้ ดังเช่น การระเบิดของภูเขาไฟ คระคะตัว ในปี ค.ศ. ๑๘๘๓ ซึ่งส่งคลื่น สึนามิ ออกไปทำลายล้างชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนในเอเชีย มีจำนวนผู้ตายถึงประมาณ ๓๖,๐๐๐ ชีวิต

นอกเหนือไปจากนั้น ในกรณีที่มีความเป็นไปได้ไม่สูงมากนัก คือการที่เกิดอุกกาบาตตกใส่โลก ดังเช่นที่เกิดขึ้นเมื่อ ๖๕ ล้านปีมาแล้ว ทำลายล้างชีวิตบนโลกเป็นส่วนใหญ่ สรุปแล้วก็คือ สึนามิ จะเกิดขึ้นเมื่อ น้ำทะเลในปริมาตรมหาศาล ถูกผลักดันให้เคลื่อนออกจากตำแหน่งเดิมในแนวดิ่ง อย่างฉับพลันกระทันหันชั่วพริบตา ด้วยพลังงานมหาศาล น้ำทะเลก็จะกระจายตัวออกเป็นคลื่น สึนามิ ที่เมื่อไปถึงฝั่งใด ความพินาศสูญเสียก็จะตามมาอย่างตั้งตัวไม่ติด


สึนามิญี่ปุ่น





?????????? (?????? Tsunami) ???????????????????????? 2011

ที่มาของข้อมูล

http://www.vcharkarn.com/varticle/267
http://www.youtube.com/watch?v=CfR1UYSOCkI

วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การสตาร์ทมอเตอร์ 3 เฟส แบบสตาร์-เดลต้า



การสตาร์ทมอเตอร์ 3 เฟส แบบสตาร์-เดลต้า

การสตาร์ทมอเตอร์ 3 เฟสที่มีขนาดใหญ่เกินกว่า 7.5 กิโลวัตต์นั้นไม่สามารถใช้วิธีการสตาร์ตรงได้
(Direc Start) ได้ เนื่องจากกระแสสตาร์ทสูงมาก(ปกติค่ากระแสสตาร์ทสูงประมาณ 5 - 7 เท่า
ของค่ากระแสตามปกติของค่ากระแสตามปกติ ของค่าพิกัดมอเตอร์)จึงต้องการอาศัยเทคนิค
การสตาร์ทมอเตอร์ ที่สามารถลดกระแสขณะสตาร์ทมอเตอร์ได้มิฉะนั้นแล้วการสตาร์ทมอเตอร์ขนาดใหญ่
จะทำให้เกิดผลเสียแก่ ระบบไฟฟ้าหลายประการเช่น
        1.ทำให้เกิดไฟแสงสว่างวูบหรือกระพริบ
        2.ทำให้อุปกรณ์ป้องกันแรงดันไฟฟ้าตกทำงาน
        3.อาจเกิดโอเวอร์โหลดแก่ระบบจ่ายไฟเข้าโรงงาน เช่นหม้อแปลงไฟฟ้า
        4.อาจทำให้ฟิวส์แรงสูงที่ระบบจ่ายไฟฟ้าขาด
        5.กระทบต่อการทำงานของมอเตอร์ตัวอื่นๆในโรงานที่ทำงานในสภาวะโอเวอร์โหลด
อาจดับหรือหยุดทำงานได้เพราะไฟตก
ดังนั้นมอเตอร์ที่มีขนาดสูงกว่า 5 กิโลวัตต์ต้องใช้เทคนิคการสตาร์ทมอเตอร์แบบลดกระแสซึ่งมีอยู่ 3 วิธี
       1.การสตาร์ทแบบสตาร์-เดลต้า
       2.การสตาร์ทแบบลดกระแสแบบตัวต้านทาน
       3.การสตาร์ทโดยใช้หม้อแปลงลดแรงดัน
ในบทนี้จะกล่าวถึงเฉพาะการสตาร์ทแบบสตาร์-เดลต้าเท่านั้น
      การสตาร์-เดลต้าหมายถึง ขณะสตาร์ทมอเตอร์เป็นแบบสตาร์และเมื่อมอเตอ์ืหมุนไปด้วยความเร็ว 75%ของความเร็วพิกัด มอเตอร์จะต้องหมุนแบบเดลต้า

 การสตาร์ทแบบสตาร์-เดลต้า สามารถทำได้ 2 วิธี
                1.ใช้สตาร์-เดลต้าสวิตช์
                2. ใช้คอนแทคเตอร์


วงจรกำลัง



     วงจรกำลังของการสตาร์ทมอเตอร์แบบสตาร์- เดลต้านั้นการสตาร์ทจะต้องเรียงกัน ไปจากสตาร์ไปเดลต้าและคอนแทคเตอร์สตาร์กับคอนแทคเตอร์เดลต้าจ ะต้องมี Interlock ซึ่งกนและกัน การควบคุมมี 2 อย่างคือ เปลี่ยนจากสตาร์ไปเดลต้าโดยการกด Pushbutton กับเปลี่ยนโดยอัตโนมัติด้วยการใช้รีเลย์ตั้งเวลาการควบคุมแบบอัตโนมัติมี 2 วิธี
1. ต่อจุดสตาร์ด้วย K2 ก่อนจ่ายไฟเข้า K1
2. จ่ายไฟด้วย K1 ก่อนต่อจุดสสตาร์ด้วย K2

วงจรควบคุม


     
      วงจรควบคุมสตาร์ทมอเตอร์สตาร์-เดลต้าแบบ
อัตโนมัติโดยใช้รีเลย์ตั้ง

ลำลับขั้นตอนการทำงาน
     1. กด S2ทำให้คอนแทคK2ทำงานต่อแบบ
สตาร์และรีเลย์ตั้งเวลาK4T ทำงานคอนแทค
ปิด ของK2ในแถวที่ 4ตัดวงจรK3 และคอนแทค
ปกติปิดในแถวที่ 2 ต่อวงจรให้เมนคอนแทค K1
     2.หลังจากที่K1ทำงานและปล่อยS2 ไปแล้ว
หน้าสัมปกติเปิด(N.O.)ของK1ในแถวที่ 3ต่อวงจร
ให้คอนแทคเตอร์ K2และตัวตั้งเวลา K4Tจะทำงาน
ตลอดเวลาขณะนี้มอเตอร์หมุนแบบสตาร์(Star)
     3. รีเลย์ตั้งเวลาK4Tทำงานหลังจากเวลาที่ตั้งไว้
คอนแทคเตอร์K2จะถูกตัดออกจากวงจรด้วย
หน้าสัมผัสปกติปิด(N.C.)ของ รีเลย์ตั้งเวลาK4T
ในแถวที่1และหน้าสัมผัสปกติปิด(N.C.)ของK2
ในแถวที่4 กลับสู่สภาวะเดิมต่อวงจรให้กัน
คอนแทคเตอร์K3ทำงาน และหน้าสัมผัสปกติปิด(N.C.)
ของ K3 ในแถวที่ 1 จะตัดคอนแทคเตอร์ K2
และรีเลย์ตั้งเวลาK4T ออกจากวงจร จะคงเหลือคอนแทคเตอร์K1และK3
ทำงานร่วมกันมอเตอร์หมุนแบบ เดลต้า(Delta)
       4.เมื่อต้องการหยุดการทำงานของมอเตอร์

ให้กดสวิตช์ S1(Stop)

หมายเหตุ

    1. ในขณะที่มอเตอร์สตาร์ทแบบสตาร์คอนแทคเตอร์ K1 กับK2 จะทำงาน
    2. เมื่อรีเลย์ตั้งเวลาได้เวลาที่ตั้งไว้มอเตอร์จะรันแบบเดลตต้าคอนแทคเตอร์K1กับ K3 ทำงาน
    3. คอนแทคเตอร์ K1กับ K2 จะทำงานพร้อมกันไม่ได้เพราะจะทำให้เกิดการลัดวงจร